ผู้บกพร่องด้านการเรียนรู้ Dyslexia
ช่วยผู้บกพร่องด้านการเรียนรู้ พัฒนาสู่ผู้อ่านที่เชี่ยวชาญ
ในปัจจุบันอาการดิสเล็กเซีย (Dyslexia) หรือความบกพร่องในการเรียนรู้ ได้รับการยอมรับว่าเกิดจากความบกพร่องเกี่ยวกับการรับรู้ด้านการได้ยิน ซึ่งมีจุดอ่อนที่สามารถเห็นได้ชัดเลย คือ ทักษะการประมวลผลเสียง ซึ่งก็มีโปรแกรมพัฒนาทักษะการอ่านจำนวนมากออกมา เพื่อช่วยเหลือผู้เรียนให้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
แต่ Fast ForWord ใช้วิธีที่แตกต่างออกไป โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วย “เชื่อมต่อ” เซลล์ประสาทในสมองสำหรับการอ่าน แก้ปัญหาอย่างตรงจุด ฝึกความสามารถทักษะสมองตั้งแต่พื้นฐานให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืน งานวิจัยทั้งก่อนและหลังแสดงให้เห็นว่า เมื่อตรวจสมองด้วยเครื่อง fMRI พบว่าหลังการใช้โปรแกรม Fast ForWord ในการฝึกสมอง ผู้ใช้มีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะโปรแกรมได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้สามารถประมวลผลเสียงที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ เพราะทักษะการฟังนี้เป็นส่วนสำคัญในการเรียนภาษา
ซอฟต์แวร์ Fast ForWord มีแบบฝึกหัดที่ช่วยพัฒนาการอ่าน สามารถช่วยให้ผู้ฝึกพัฒนาทักษะเป็นผู้อ่านที่เก่งขึ้น หลังฝึกเพียง 8 สัปดาห์
- มีแบบฝึกหัดที่ช่วยพัฒนาทักษะการประมวลผลเสียง
- ฝึกแบบรายบุคคล เพื่อการรับรู้เรื่องหน่วยเสียง การออกเสียง การสะกดคำ และการเข้าใจความหมาย
- การจดจำคำผ่านการมอง รวมถึงการเรียนรู้คำศัพท์ ไวยากรณ์ และทักษะการทำความเข้าใจ
- มีการให้คำแนะนำด้านการอ่าน เพื่อสร้างความมั่นใจและความคล่องแคล่วให้กับผู้ที่ไม่ชอบอ่าน
Fast ForWord ใช้กลยุทธ์แบบฝึกหัดการอ่านรวมไปถึงแบบฝึกกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีอย่างหลากหลาย ทั้งยังสามารถปรับระดับความยากได้ตามความสามารถของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งได้ฝึกอย่างเข้มข้น สร้างพื้นฐานทักษะต่าง ๆ ให้แข็งแรง แก้ไขและพัฒนาทักษะที่อ่อนได้อย่างตรงจุด และช่วยเสริมทักษะด้านภาษาและทักษะด้านการอ่านที่หายไป
ผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง
- พัฒนาทักษะการประมวลผลเสียง
- พัฒนาทักษะการเรียนรู้และเชื่อมโยงหน่วยเสียง และโครงสร้างของพยางค์
- เรียนรู้และเข้าใจการสร้างกลุ่มคำ การสร้างประโยค และโครงสร้างภาษา
- พัฒนาทักษะการอ่าน การวิเคราะห์ ความคล่องแคล่ว และการเชี่อมโยงหน่วยเสียง
- พัฒนาทักษะการเรียนรู้และการจดจำผ่านการมอง เพิ่มพูนคลังคำศัพท์ และความเข้าใจด้านไวยากรณ์
ประสิทธิภาพของ Fast ForWord กับอาการดิสเล็กเซีย
ผลการศึกษาจาก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์, มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, มหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส, วิทยาลัยดาร์ทเมาท์, และโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด
การศึกษาการทำงานของสมองและระบบประสาทโดยเครื่องมือ fMRI แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างทางสรีรวิทยาของเด็กที่มีภาวะดิสเล็กเซียสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ นักวิจัยพบว่า เด็กที่มีพัฒนาการทั่วไป สมองส่วนหน้าจะได้รับการกระตุ้นเร็วขึ้นเมื่อมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ และจะมีการกระตุ้นช้าลงเมื่อไม่เกิดการเรียนรู้หรือมีการเรียนรู้น้อยลง แต่เด็กที่มีภาวะดิสเล็กเซีย ไม่พบความแตกต่างใด ๆ ดังนั้นใน 8 สัปดาห์ของการศึกษาวิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะการประมวลผลจากการฟัง ฝึกการออกเสียง และภาษา (Fast ForWord) ผลปรากฏว่า เด็กที่มีภาวะดิสเล็กเซียได้รับการกระตุ้นสมองส่วนหน้าที่แตกต่างไปจากเดิม เกิดการกระตุ้นที่มีทั้งความรวดเร็วและช้า คล้ายกับเด็กที่มีพัฒนาการตามวัยโดยทั่วไป
ผลการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส, บริษัท Scientific Learning, มหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส, และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในซานฟรานซิสโก
การศึกษาการทำงานของสมองและระบบประสาทโดยเครื่องมือ fMRI แสดงให้เห็นความแตกต่างในการกระตุ้นสมองของเด็กที่มีภาวะดิสเล็กเซีย และเด็กที่มีพัฒนาการตามวัย หลังจากการฝึก Fast ForWord นักวิจัยใช้เครื่องมือ fMRI เพื่อแสดงให้เห็นว่าในระหว่างการฝึก สมองซีกซ้ายของเด็กที่มีพัฒนาการโดยทั่วไป (บนซ้าย) มีการกระตุ้นที่สอดคล้องกันในบริเวณสมองที่ทำงานเกี่ยวกับการอ่าน (บริเวณที่เป็นวงกลม) มากกว่าเด็กที่มีภาวะดิสเล็กเซีย (ขวาบน) ทั้งนี้หลังจากการฝึก Fast ForWord การกระตุ้นสมองของเด็กที่มีภาวะดิสเล็กเซีย (ด้านล่าง) ปรากฏว่ามีลักษณะการทำงานคล้ายกับสมองของเด็กที่มีพัฒนาการตามวัยมากขึ้น
ผลการศึกษาจาก โรงเรียนโรลลา รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา
หลังจากใช้ Fast ForWord กับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล-เกรด 3 ที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ หลังการฝึก Fast ForWord ผลปรากฏว่านักเรียนมีผลความก้าวหน้าด้านทักษะภาษา ด้านการเรียนรู้ และทักษะด้านการอ่านที่ดีขึ้น นอกจากนี้นักเรียนคนอื่น ๆ ในระดับอนุบาล-เกรด 3 ที่มีพัฒนาการการเรียนรู้ตามวัยทั่วไป และได้ฝึก Fast ForWord ผลลัพธ์ปรากฏเช่นเดียวกัน คือนักเรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ทักษะภาษา และทักษะการอ่านที่ดีขึ้น
ผลการศึกษาและงานวิจัย Fast ForWord กับอาการดิสเล็กเซีย
งานวิจัย : Dyslexia and the Brain: Research Shows that Reading Ability Can be Improved อาการดิสเล็กเซียกับสมอง ผลการศึกษาพบว่าทักษะการอ่านพัฒนาขึ้น
งานวิจัย : Undoing Dyslexia via Video Games การแก้ไขอาการดิสเล็กเซียผ่านวิดีโอเกม
แหล่งข่าว : Understanding the Causes of Dyslexia for Effective Intervention เข้าใจสาเหตุของดิสเล็กเซีย เพื่อการพัฒนาแก้ไขได้อย่างตรงจุด
DESCRIPTORS REGARDING INTERVENTION AFTER ASSESSMENT AND DYSLEXIA IDENTIFICATION
ติดต่อ ทดลองเรียนฟรีได้แล้ววันนี้
โทร 02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
LINE: @brainfit_th